การลงทุนหุ้น และเศรษฐกิจ อัพเดทรายสัปดาห์

10 มิถุนายน 2553

ภาระหนี้อันมหาศาลของรัฐ ส่งผลต่อประชาชนอย่างไร?


การปล่อยให้หนี้ของประเทศมากเกินไป ย่อมเป็นการมอบภาระให้ชนชั้นรุ่นหลัง เพราะการที่เรากู้ยืมในตอนนี้ ลูกหลานของเราที่เกิดมาก็ต้องเอาเงินมารับผิดชอบการจ่ายหนี้ในอนาคต แทนที่จะได้นำไปจับจ่ายใช้สอยตามความต้องการของแต่ละบุคคล

อย่างไรก็ตาม มีเหตุผลอยู่2-3ข้อที่สามารถอธิบายได้ว่า คนรุ่นนี้ก็เช่นกันที่จะต้องได้รับผลกระทบในแง่ลบจากกองหนี้ของประเทศของตน

ถ้าผู้ออกนโยบายต่างๆในยุโรปและอเมริกา ไม่สามารถคิดหาวิธีแก้ปัญหาหนี้ของประเทศในระยะยาวได้ ปัญหาต่างๆมากมายก็ย่อมจะเกิดขึ้น

การอ่อนตัวของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ
หลังจากที่ได้ตรวสอบและวิจัยข้อมูลของประเทศต่างๆ ในเวลาประมาณ200ปีที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์ Carmen Reinhart และ Kenneth Rogoff พบความเชื่อมโยงระหว่าง หนี้มหาศาล และการเติบโตที่ช้าลงของเศรษฐกิจ พูดให้ชัดเจนก็คือ เมื่อหนี้ทั้งหมดของรัฐ(Total Government Gross Debt)สูงถึง90%ของระบบเศรษฐกิจ(GDPหรือGNP) ประเทศนั้นๆจะสูญเสียตัวเลขอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไปประมาณ1%ต่อปี

หนี้รัฐของสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่13ล้านล้านเหรียญสหรัฐ กำลังจะสูงถึง90%ของระบบเศรษฐกิจในปีนี้ (ตัวเลขเดียวกันนี้คือ83%ในปี2009) หนี้ของรัฐทั้งหมดประกอบไปด้วย เงินที่ยืมจากผู้ถือหุ้นกู้ของรัฐ และเงินที่กองทุนtrust fundsต่างๆให้รัฐกู้ยืม เช่น Social Security Trust Funds

Reinhart กล่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่างหนี้สูง และการเติบโตต่ำ เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดวงจรของปัญหาเรื้อรังที่นับวันจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

อัตราการเติบโตต่ำ ทำให้รายได้จากภาษีประชาชนที่รัฐบาลเก็บได้น้อยลง รายได้ที่น้อยลงทำให้รัฐมีความจำเป็นที่จะต้องกู้ยืมมากขึ้น การกู้ยืมที่มากขึ้นทำให้หนี้ก่อตัวสูงขึ้น หนี้ที่สูงขึ้นจะเป็นตัวบีบบังคับให้รัฐบาลควบคุมความมั่นคงของรายได้และประหยัดค่าใช้จ่าย เพื่อไม่ให้นักลงทุนเสียความเชื่อมั่นในประเทศ แต่การใช้จ่ายที่น้อยลง และการขึ้นภาษีเพื่อรักษารายได้ของรัฐนั้น สามารถทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจต่ำลงได้

เมื่อเกิดเป็นวงจรเช่นนี้ อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจะน้อยลงเรื่อยๆหรือแม้กระทั่งติดลบ สิ่งนี้จะทำให้มีการจ้างงานน้อยลง ส่งผลต่อรายได้ของคนในประเทศในรุ่นปัจจุบันโดยตรง

การจ่ายดอกเบี้ยแพง
เหตุผลหนึ่งที่ทุกวันนี้อเมริกายังสามารถกู้ยืม ในราคาดอกเบี้ยที่ต่ำอยู่ก็คือ คนหนียุโรปมาลงทุนในอเมริกา แต่ในขณะเดียวกันสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ประเทศกลุ่มPIIGSนั้นเจอปัญหากับดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอย่างมหาศาล

ถึงแม้ สหรัฐอเมริกายังจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างถูก แต่ในอนาคต ดอกเบี้ยจะขึ้นเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างชัดเจน ภายในปี2020 อเมริกาจะมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยในแต่ละปีเป็นจำนวนถึง1ล้านล้านดอลล่าร์ หรือเท่ากับ21%ของรายได้รัฐที่ประมาณการไว้ของปีนั้น

อัตราดอกเบี้ยจะสูงยิ่งขึ้นไปอีก ถ้านักลงทุนสูญเสียความมั่นใจในความสามารถในการแก้ปัญหาหนี้ของสหรัฐ สิ่งที่เกิดขึ้นก็จะคล้ายกับ สิ่งที่กรีซและประเทศต่างๆในเขตยูโรกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน คือ นักลงทุนต่างพากันเทขายหุ้นกู้ในประเทศกรีซทั้งของภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้ราคาหุ้นกู้(price of bonds)ตกอย่างมหาศาล และดอกเบี้ยของหุ้นกู้(yield)ซึ่งเปลี่ยนแปลงในทางตรงกันข้ามกับราคา ปรับตัวสูงสุดถึง38% ก่อนที่จะค่อยๆปรับตัวลงมา

ผู้เชี่ยวชาญด้านหนี้ของประเทศหลายราย กล่าวว่า อาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ ถ้าปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น เพื่อเป็นการบีบให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหา ถึงแม้จะเป็นประสบการณ์ที่ไม่ดีนักสำหรับรัฐและประชาชน แต่ก็ยังดีกว่าปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยต่ำไปนานๆ จนทำให้รัฐบาลละเลยที่จะแก้ปัญหา ส่งผลให้กองหนี้นั้นมากมายเกินกว่าจะควบคุมหรือจัดการได้

เงินสนับสนุนจากรัฐบาลน้อยลง
ยิ่งรัฐบาลมีก้อนหนี้มากเท่าไร ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยก็ต้องมากขึ้นตามสัดส่วน ซึ่งจะทำให้เงินที่เหลือไว้สำหรับ สิ่งก่อสร้างและบริการที่ประชาชนคาดหวังว่าจะได้รับจากรัฐ มีจำนวนน้อยลง

ค่าใช้จ่ายของทุกๆอย่างตั้งแต่ การศึกษา การสาธารณูปโภค การสร้างถนนหนทาง อาจจะต้องลดน้อยลง ซึ่งนอกจากจะทำให้ประชาชนเดือดร้อนแล้ว ฬนระยะยาว การไม่ลงทุนในภาคส่วนเหล่านี้จะทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้อยกว่าประเทศอื่น และอาจส่งผลให้ต่างชาติขาดความเชื่อมั่น ลังเลที่จะเข้ามาลงทุน

นอกจากนี้ รัฐบาลจะมีความสามารถในการช่วยเหลือประชาชนได้น้อยลง เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆเช่น การก่อการร้าย ภัยธรรมชาติ และวิกฤตเศรษฐกิจในอนาคต
-------------

การทิ้งปัญหานี้ไว้นานๆจนกองหนี้มันใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จะเป็นการบีบบังคบให้ตัวรัฐเองออกกฏหมายอย่างเข้มงวดและฉับพลันกว่าที่ การที่รัฐเริ่มแก้ปัญหาเสียตั้งแต่ตอนนี้ สิ่งนี้จะเป็นผลเสียกับรัฐเอง และประชาชน เพราะรัฐจะเสียความเชื่อมั่นจากนักลงทุนและผู้ปล่อยกู้ และประชาชนก็จะต้องเผชิญกับมาตรการที่กระทบกับระบบเศรษฐกิจและรายได้ของตน ประเทศกลุ่มPIIGSและอื่นๆในยุโรป คือตัวอย่างจากการที่รัฐบาลละเลยกับปัญหาหนี้

ผู้เชี่ยวชาญหลายรายคาดว่า รัฐบาลของอเมริกาจะไม่แก้ปัญเรื่องหนี้ของประเทศตน จนกว่าจะโดนบีบบังคับจริงๆ เพราะว่าสองเหตุผลดังต่อไปนี้ 1. นักการเมืองมีความเห็นไม่ตรงกันเรื่องประโยชน์และโทษจากการลดหนี้ 2. การลดหนี้จะต้องประกอบไปด้วย การใช้มาตรการที่ไม่เป็นที่ชื่นชอบของประชาชน ซึ่งไม่มีนักการเมืองคนไหนอยากทำ

"ก็เหมือนกับกบที่ไม่ยอมกระโดดออกจากหม้อต้มซุป ตอนที่อุณหภูมิของน้ำกำลังค่อยๆเพิ่ม ดูเหมือนว่าชาวอเมริกันยังดื้อดึงและไม่ยอมลงมือแก้ปัญหา จนกว่าความเสียหายที่เกิดจากหนี้จะถูกมองข้ามไม่ได้อีกต่อไป อาจารย์ Len Burman ของมหาวิทยาลัย Syracuse University กล่าวในเรียงความเมื่อเร็วๆนี้ "ในจังหวะสุดท้ายเมื่อเจ้ากบเริ่มเรียนรู้ มันก็สายเกินไปแล้ว"

สรุปคือ หนี้ที่มากจนเกินไปจะส่งผลในแง่ลบต่อเศรษฐกิจและประชาชนของประเทศ เพราะรัฐบาลจะต้องดิ้นรนหาทางเอาเงินมาจ่ายหนี้คืน และถ้าปัญหานี้มีความร้ายแรงต่ออเมริกาและประเทศใหญ่ๆในยุโรป เช่น ฝรั่งเศสและเยอรมัน ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับประเทศอื่นๆคือ สถาบันการเงินไม่ได้เงินที่ปล่อยกู้คืน หรือ ได้คืนช้าลงหรือในจำนวนที่น้อยลง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจชลอตัวเพราะการส่งออกน้อยลงนั้นเอง

Posted in: ,
Twitter