การลงทุนหุ้น และเศรษฐกิจ อัพเดทรายสัปดาห์

17 พฤศจิกายน 2554

จุดเริ่มต้นของจุดจบ: วิกฤตหนี้รัฐบาลในยูโรโซน



ในแต่ละขณะ มีนักลงทุนมากมาย โดยเฉพาะนักลงทุนจำพวกสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารต่างๆในยุโรปต่างแย่งกันขายพันธบัตรรัฐบาลจากประเทศกลุ่มPIIGS

วิกฤตครั้งนี้เริ่มต้นเมื่อเกือบสองปีที่แล้ว เมื่อครั้งที่กรีซต้องการความช่วยเหลือจากองกรค์นอกประเทศเป็นครั้งแรก

ผ่านมาจนมาถึงเมื่อกรกฎาคมที่ผ่านมา สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น จนผู้นำยุโรปต้องเข้ามาช่วยเพิ่ม และขอร้องให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ "อย่างสมัครใจ" โดยการยอมรับ haircut 20%ของมูลค่าพันธบัตรที่ธนาคารภาคเอกชนถืออยู่ นี้การช่วยเหลือกรีซครั้งที่สอง

ผ่านไปอีกไม่กี่เดือน สัญญาณ และตัวบ่งชี้ด้านเศรษฐกิจต่างๆของกรีซมีแต่จะแย่ลงเรื่อยๆ จนรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของกรีซออกมาพูดว่า รัฐบาลของเขาจะไม่สามารถลดงบประมาณขาดดุลได้ตามเป้าที่IMFกำหนดไว้ตอนแรก เนื่องจากเศรษฐกิจมัน"แย่กว่าที่คาด"

เมื่ออะไรๆก็ไม่ดีขึ้น ผู้นำยุโรปก็ต้องกลับมาประชุมเพื่อหาทางช่วยเหลือกันใหม่

หลังจากประชุมมาติดต่อกันหลายวัน วันที่27ตุลาคม2011 เหล่าผู้นำยุโรปออกมาประกาศแผนใหม่ (ที่ตลาดหุ้นทั่วโลกตอบรับด้วยการปรับตัวสูงขึ้น) ซึ่งมีใจความหลักๆคือ กองทุนช่วยเหลือEFSFจะมีวงเงินมากขึ้น(ซึ่งจะหาเงินมาจากไหนก็ยังไม่รู้)   EUกับIMFจะอัดชีดเงินช่วยเหลือ ด้วยการให้กรีซกู้เพิ่มโดยตรง (ผมว่าถ้าจะให้กรีซกู้ บริจาคไปเลยก็ได้นะครับ) และสุดท้ายภาคเอกชนผู้ถือพันธบัตรรัฐบาลของกรีซจะถูก haircut เป็นจำนวนเท่ากับ50%ของมูลค่าพันธบัตร

จากเดิมที่เคยตกลงกันเมื่อเดือนกรกฎาว่าจะยอมขาดทุนแค่20% สามเดือนต่อมาถูกเพิ่มเป็น50% ถ้าคุณเป็นธนาคารที่ถือพันธบัตรรัฐบาลของกรีซอยู่ คุณคงต้องถามตัวเองแล้วว่า haircutนี้มันจะไปจบที่กี่เปอร์เซ็นต์ แทนที่จะรอไปเรื่อยๆโดยไม่รู้เลยว่าhaircutมันจะจบเมื่อไร จะต้องขาดทุนอีกขนาดไหน เราขายพันธบัตรไปก่อนเลยดีมั้ย? คำตอบคือ ยอมขาดทุนไปเลยดีกว่า เพราะถ้ารอไปเรื่อยๆมีโอกาสขาดทุนเยอะกว่าปัจจุบันสูงมาก

ผลก็คือ หุ้นกู้ของกรีซถูกขายจนราคาตกเยอะมากจนคนเลิกสนใจไปแล้ว

ธนาคารใหญ่ๆของยุโรปเริ่มลดความเสี่ยงการเกิดหนี้เสียของรัฐบาลประเทศต่างๆในกลุ่มPIIGS ซึ่งสามารถทำได้สามวิธี 1.) ตั้งบัญชีค่าใช้จ่าย"สำรองเผื่อหนี้สูญ"รอไว้ก่อน 2.) ลดความเสี่ยงด้วยการhedge เช่นการซื้อCDS 3.) ขายพันธบัตรที่มีความเสี่ยงทิ้งไปเลย

 แล้ววิธีไหนละที่น่าทำที่สุด?

ถ้าคุณเลือกวิธีแรก ความเสี่ยงบางส่วนนั้นยังคงอยู่ เพราะคุณอาจจะตั้งงบค่าใช้จ่ายสำรองเผื่อหนี้สูญ(provision for bad debt)เอาไว้ไม่พอ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณตั้งprovisionเผื่อไว้50% แต่ปรากฏว่ากรีซจ่ายเงินคืนได้ไม่ถึงครึ่ง หนี้เสียที่เกิดขึ้นก็ยังคงส่งผลต่อกำไรของธนาคารของคุณอยู่ดี

แล้ววิธีที่สองละ? วิธีที่สองคุณก็ยังมีความเสี่ยงเหมือนกัน จริงอยู่ว่าการซื้อCDS (Credit Default Swap)นั้นก็เหมือนการซื้อประกัน ถ้าเวลามีหนี้เสียเกิดขึ้น คนที่ถือประกันอยู่ก็จะได้รับเงินคืนตามที่ตนขาดทุนไป แต่CDSก็ไม่ได้ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์  เนื่องจากสองสาเหตุด้วยกันคือ
1.) CDSจะไม่ทำงาน ถ้าการเกิดหนี้เสียนั้น ผู้ถือพันธบัตรนั้นรับได้ และยอมให้เกิดหนี้เสีย"อย่างสมัครใจ" เหมือนที่เกิดขึ้นกับกรีซ
2.) ถึงแม้CDSจะทำงาน คนถือCDSก็อาจจะไม่ได้เงินเลยสักยูโร เพราะบริษัทที่ขายCDSอาจไม่มีเงินพอที่จะจ่ายค่าเสียหายให้กับคนที่ถือCDSได้ทุกๆคน

ทางเลือกแรกก็เสี่ยง ทางที่สองก็เสี่ยง แล้วทางที่สามละ?

ขายทิ้งไปเลยนี้แหละครับ เสี่ยงน้อยสุด เพราะขายแล้วขาดกัน ขาดทุนทีเดียวจบ แล้วผมก็เชื่อว่าธนาคารในยุโรปหลายๆแห่งก็ต้องคิดแบบนี้เช่นกัน

Mohamed El-Erian ซึ่งเป็น CEOและco-CIO จากบริษัทจัดการกองทุนหุ้นกู้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกPIMCO ถึงกับกล่าวว่า

It has become fashionable not only to sell Italian bonds but also to tell the world about it, as loudly as you can. In the last few days several banks have rushed to announce that they have been actively reducing their holdings of Italian debt—as a means of reducing market concerns about their own well-being. This phenomenon is similar to the 1980s phase of “macho provisioning” that saw banks trying to outdo each other in telling the world that they were fully protected against their past loans to Latin America. The result today is to encourage and push other Italian creditors to also sell, adding to the market pressures. In too many cases, the damage to the demand for Italian bonds is much more than transitory.

สรุปเป็นใจความสั้นๆคือ นักลงทุนไม่ใช่แค่แย่งกันเทขายพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีเท่านั้น แต่ยังบอกโลกให้รู้ด้วยว่าขายไปแล้วจริงๆ เพื่อเป็นการบอกว่า"บริษัทเราปลอดภัยแล้ว" เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นคล้ายๆกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศลาตินในช่วงยุค80s ก่อนที่จะเกิดหนี้เสียตามมาเป็นระลอก

พอเจ้าหนี้รายอื่นได้ยินแบบนี้ ก็ต้องรีบขายตามเพราะกลัวราคามันจะตกไปมากกว่านี้อีก หรือไม่ก็กลัวหนี้เสียจะเกิดขึ้นจริงๆ สิ่งที่ตามมาก็คือราคาพันธบัตรก็ดิ่งต่ำลงไปอีก ยิ่งเป็นตัวกดดันให้คนที่ยังถือพันธบัตรอยู่แย่งขายเข้าไปใหญ่ เป็นวงจรที่มักจะจบไม่สวยเท่าไรนัก

ในขณะที่ผมกำลังเขียนอยู่นี้ นักลงทุนไม่ได้แค่แย่งกันขายหุ้นกู้ของกลุ่ม PIIGS (โปรตุเกส, ไอร์แลนด์, อิตาลี, กรีซ และสเปน) เท่านั้น ดอกเบี้ยหรือyield (ซึ่งเคลื่อนไหวในทางตรงกันข้ามกับราคาของหุ้นกู้)ของรัฐบาลทุกประเทศในยูโรโซนยกเว้นเยอรมัน ได้ปรับตัวสูงขึ้นทั้งกระดาน ด้วยความกลัวที่ว่าปัญหาหนี้ครั้งนี้จะลุกลามไปทั่วยุโรป

วิกฤตครั้งนี้จะลุกลามหรือไม่? ถ้าลุกลามแล้วเกี่ยวกับเรายังไง? เก็บไว้ต่อบทความหน้าจะดีกว่าครับ ถ้ากรีซกับอิตาลียังไม่ล่มเสียก่อน


บทความที่เกี่ยวข้องจาก Buttonwood's Notebook
Collateral Damage

บทความที่เกี่ยวข้องจาก CNNMoney
Europe credit crunch fears are growing
Eurozone bond yields continue to climb

Posted in: ,
Twitter