การลงทุนหุ้น และเศรษฐกิจ อัพเดทรายสัปดาห์

09 พฤศจิกายน 2554

บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับยุโรป: อาจารย์ Jurgen Brauer

Professor Jurgen Brauer: Augusta State University

ที่ผมกำลังจะนำเสนอต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนาผ่านอีเมลล์ระหว่างผมกับอาจารย์ Jurgen Brauer เมื่อวันที่8พฤศจิกายนที่ผ่านมานี้เองครับ

อาจารย์ Jurgen เกิดและเติบโตที่เมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี และเป็นอาจารย์สอนวิชาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวิชาเศรษฐศาสตร์ ปัจจุบันสอนประจำอยู่ที่ Hull College of Business มหาลัย Augusta State University ซึ่งอยู่ในรัฐ Georgia ประเทศสหรัฐอเมริกา

SETTALK: Is the most recent plan that was announced around the end of last month sufficient to resolve the crisis?

แปลคำถาม: แผนกู้ชีพยุโรปที่ถูกประกาศมาล่าสุดเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมานั้น เพียงพอสำหรับการแก้ไขวิกฤตหนี้ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่หรือไม่?

BRAUER: No. I agree with The Economist magazine, and you may wish to access the recent issues. Every time the politicians announced a "solution," The Economist predicted further turmoil. And every time The Economist was correct.

แปลคำตอบ: ไม่เพียงพอ ผมเห็นด้วยกับนิตยสาร The Economist คุณอาจจะลองไปหาอ่านดูในฉบับใหม่ๆก็ได้ ทุกครั้งที่นักการเมืองออกมาประกาศ “ทางแก้ปัญหา” นิตยสาร The Economist จะออกมาทำนายว่าจะมีความสับสนอลหม่านเกิดขึ้นตามมาอีก และ The Economist ก็ทายถูกทุกครั้งไป


SETTALK: Would Euro zone be the same in the long run?

แปลคำถาม: ยูโรโซน (พื้นที่ของกลุ่มประเทศที่ใช้ค่าเงินยูโร)จะเหมือนเดิมหรือไม่ ในระยะยาว?

BRAUER: Both Germany and France have made clear that the euro will survive, with or without Greece. In 1998, I wrote a column on the new euro. I still believe what I wrote then, except for one sentence:

"Moreover, at Germany’s insistence, the Europeans agreed to stringent fiscal policies, that is, to keep government budget deficits very small which means reliance on their private, rather than government, sectors to push their economies forward."

The Germans have insisted and they still insist, but up to now the decision was not left up to the Germans but either to local politicians or to EU politicians. And so, the PIGS engaged in unsustainable fiscal policy, and now they have to pay the long overdue price. So, yes, the euro will survive simply because it works for most eurozone members, especially the big ones. With Greece out, and the others strengthened, it may even attract new members!

แปลคำตอบ: ทั้งเยอรมัน และฝรั่งเศส ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า ยูโรจะต้องอยู่รอด ไม่ว่าจะมีกรีซอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม ผมได้เขียนบทความไว้เมื่อปี1998 และผมก็ยังเชื่อสิ่งที่ผมเขียนไป ยกเว้นประโยคหนึ่งที่บอกว่า

“นอกจากนี้ ด้วยคำยืนกรานของเยอรมัน ประเทศต่างๆในยุโรป[ที่อยู่ในกลุ่มยูโรโซน] ตกลงที่จะใช้นโยบายงบประมาณอย่างระมัดระวัง คือ ทำให้งบประมาณขาดดุลนั้นต่ำ ซึ่งหมายถึงการพึ่งพาภาคเอกชน ไม่ใช่รัฐบาล ให้ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจต่อไป”

เยอรมันก็ยังยืนกรานเช่นเดิม แต่จนถึงทุกวันนี้ การตัดสินใจ[เรื่องงบประมาณของรัฐบบาลประเทศต่างๆ] ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเยอรมัน แต่ขึ้นอยู่กับนักการเมืองท้องถิ่น หรือไม่ก็นักการเมืองของEU ผลที่ตามมาก็คือ กลุ่มประเทศ PIGS (Portugal, Ireland, Greece และ Spain) ได้ใช้นโยบายการใช้จ่ายที่ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในระยะยาว และตอนนี้ประเทศเหล่านี้ก็ต้องชดใช้

เพราะฉะนั้น คำตอบคือ ใช่ครับ ยูโรจะอยู่รอด เพียงแค่เพราะมันให้ประโยชน์กับสมาชิกส่วนใหญ่ของกลุ่มประเทศยูโร โดยเฉพาะประเทศใหญ่ๆ เมื่อกรีซออกไป และประเทศอื่นถูกทำให้แข็งแรงขึ้น ยูโรโซนอาจจะได้สมาชิกใหม่ๆก็เป็นได้


SETTALK: From what I have seen, Germany's insistence has not worked so well.

แปลคำถาม: จากที่ผมเห็น คำยืนกรานของเยอรมันนั้นไม่ค่อยเป็นผลเท่าไรนัก

BRAUER: Right, because the Germans do not have the majority of votes in the eurozone. But they are not going to sacrifice the euro to help Greece!

แปลคำตอบ: ถูกต้อง เพราะเยอรมันไม่ได้มีเสียงส่วนใหญ่ในการลงคะแนนเสียงของยูโรโซน แต่คนเยอรมันจะไม่ยอมเสียสละยูโรเพื่อรักษากรีซเอาไว้!


ติดตามผลงานของ อาจารย์Jurgen Brauerได้ที่ http://stonegardeneconomics.com/blog/


บทความคล้ายกัน:

บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับยุโรป: อาจารย์ Steven Rosefielde

Posted in: ,
Twitter