บทความนี้เป็นบทความที่4จากซีรี่ส์NO WAY OUT
ในที่สุดก็มาถึงความคิดเห็นสุดท้ายเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ของรัฐบาลยุโรป ซึ่งก็คือ
ความคิดเห็นที่ 3: ยูโรโซนจะมีขนาดเล็กลง
ก่อนที่ผมจะพูดให้ชัดเจนว่าทำไมยูโรโซนถึงจะมีขนาดเล็กลงในอนาคต เรามาดูกันก่อนดีครับว่าผู้นำจากยูโรโซนทั้งหลายต้องทำอะไรบ้างให้ยูโรโซนมีสมาชิกครบเหมือนทุกวันนี้
ระยะสั้น
ในขณะนี้ หลายๆประเทศที่มีหนี้เยอะต้องเจอกับปัญหาในตลาดการเงิน เพราะแรงเทขายพันธบัตรรัฐบาลจากนักลงทุน ซึ่งนอกจากจะทำให้ดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นแล้ว ยังส่งผลให้เกิดการขาดสภาพคล่องของรัฐบาลในหลายประเทศจนทำให้การกู้ยืมหนี้ก้อนใหม่ หรือกู้ยืมหนี้ก้อนเดิมต่อ(roll over)นั้นทำได้ลำบาก
การทิ้งปัญหานี้ไว้เฉยๆนั้น อาจทำให้ปัญหานี้เติบโตจากปัญหาilliquidityจนกลายเป็นปัญหาinsolvencyก็เป็นได้ (อ่าน Illiquidity VS Insolvency)
นักวิชาการและนักธุรกิจจำนวนมากบอกว่า ทางแก้ปัญหานี้คือ ต้องให้ECBประกาศว่าจะรับซื้อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศที่มีปัญหาแบบไม่จำกัดจำนวน หรือซื้อจนประเทศเหล่านั้นมีสภาพคล่องเพียงพอนั้นเอง
นิตยสาร The Economist เคยแนะนำว่า ECBควรแยกให้นักลงทุนเห็นเลยว่าประเทศไหนขาดความสามารถในการจ่ายหนี้(Insolvent) และประเทศไหนแค่ขาดสภาพคล่อง(Illiquid) จากนั้นก็เลือกอัดฉีดเงินให้กับประเทศที่ขาดสภาพคล่องเท่านั้น เพื่อเป็นการยืนยันว่าปัญหาหนี้เสียจะไม่ลุกลามไปถึงประเทศที่ยังพอจ่ายไหว
อุปสรรคและข้อจำกัด: ผู้นำเยอรมันและผู้นำECBยืนกรานว่า ECBไม่ควรเข้าไปมีส่วนร่วมโดยการซื้อพันธบัตรแบบไม่อั้นเพราะ 1.) รัฐบาลประเทศต่างๆจะได้ใจว่า มีปัญหาเมื่อไรECBจะเข้ามาช่วย ซึ่งอาจจะทำให้รัฐบาลในยูโรโซนขาดวินัยทางการเงินในอนาคต 2) พวกเขาเชื่อว่าหน้าที่หลักของECBคือการควบคุมเงินเฟ้อ และการอัดฉีดเงินก็อาจทำให้เกิดเงินเฟ้อได้ นอกจากนี้หน้าที่รองของECBคือความมั่นคงในภาคการเงิน องกรค์นี้จึงเลือกที่จะช่วยธนาคารพาณิชย์มากกว่าที่จะช่วยรัฐบาล
ในส่วนของข้อจำกัดนั้น ในทางทฤษฎี ถ้าECBตัดสินใจพิมพ์เงินยูโรเพื่อรับซื้อพันธบัตรแบบไม่อั้น กฎบางข้อของสนธิสัญญาฉบับปัจจุบันนั้นจะถูกเปลี่ยนเพื่อให้ECBมีอิสระมากขึ้น แต่การเปลี่ยนกฏในสนธิสัญญานั้นจะต้องได้รับการยอมรับจากทุกประเทศในยูโรโซนด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจกินเวลาหลายเดือน
ระยะยาว
ในระยะยาว ประเทศในกลุ่มยูโรโซนมีสองทางเลือกคือ 1.)ยูโรโซนที่มีสมาชิกครบเหมือนเดิม 2.) ยูโรโซนที่มีขนาดเล็กลง
ดูจากแผนล่าสุดที่เพิ่งถูกประกาศ (อ่าน แผนการใหม่ของยุโรป: Fiscal Integration Begins) ผู้นำยุโรปอยากได้ทางเลือกแรก เพราะฉะนั้น เราไปดูกันดีกว่าครับว่าจะไปถึงเป้าหมายนั้นได้ ผู้นำยุโรปต้องทำอะไรบ้าง
1.) รัฐบาลแต่ละประเทศในกลุ่มยูโรโซนนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์ทางการเงินที่แน่นแฟ้นมากขึ้น
ความสัมพันธ์ทางการเงินของรัฐบาลที่แน่นแฟ้นมากขึ้นนั้นหมายความว่า แต่ละประเทศช่วยค้ำหนี้ซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน ถ้าทำได้จริง สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์กับประเทศที่มีปัญหาอย่างประเทศกลุ่มPIIGSเพราะอาจจะทำให้เข้ากู้ยืมจากนักลงทุนได้ตามปกติอีกครั้ง ณ ระดับราคาดอกเบี้ยที่ถูกลงกว่าปัจจุบัน เนื่องจากนักลงทุนทราบแล้วว่าก้อนหนี้เหล่านี้มีประเทศอื่นๆที่แข็งแกร่งกว่าค้ำอยู่ ความเสี่ยงที่จะไม่ได้เงินคืนนั้นก็มีน้อยลง
ถึงแม้ผลที่ได้จะดีกับยูโรโซนโดยรวม การกระทำเช่นนี้จะทำให้เยอรมัน ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และประเทศอื่นๆที่ไม่ได้มีปัญหานั้นเสียประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าผู้นำจากกลุ่มยูโรโซนกำลังเดินหน้าทำเรื่องนี้กันอยู่ และได้กำหนดกฏข้อบังคับคร่าวๆสำหรับประเทศสมาชิกเอาไว้แล้ว เช่น การห้ามไม่ให้มีงบประมาณขาดดุลเกิน0.5%ของGDP และหาวิธีลงโทษประเทศที่ทำผิดกฏ ซึ่งเหล่านี้กำลังดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้อง แต่พวกเรานักลงทุนก็ต้องคอยดูต่อไปว่า เยอรมันจะยอมเสียสละมากน้อยแค่ไหน
2.) นโยบายที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของแรงงานในประเทศกลุ่มPIIGS
ข้อนี้สำคัญมากครับ ท่านผู้อ่านทั้งหลายที่ติดตามข่าวคงจะเห็นได้ว่าสิ่งที่ผู้นำยุโรปและIMFทำเป็นหลักคือ ยื่นเงินช่วยเหลือโดยการให้กู้เพิ่ม พร้อมกับสร้างกฎข้อบังคับให้เพิ่มภาษีและลดรายจ่ายเพื่อทำให้งบประมาณขาดดุลลง
จุดบอดที่เห็นได้ชัดของการกระทำเช่นนี้คือ พวกเขาให้กรีซกู้เพิ่ม (ทั้งๆที่ประเทศนี้ก็มีหนี้มากอยู่แล้ว) โดยไม่คำนึงเลยว่ารัฐบาลกรีซจะจ่ายคืนได้หรือไม่ อย่าลืมนะครับว่า ในที่สุดแล้ว ความสามารถในการจ่ายหนี้ของรัฐบาลขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างมั่นคง แต่เศรษฐกิจจะเติบโตได้อย่างไร ถ้าคุณไปสั่งให้รัฐบาลรัดเข็มขัดในช่วงที่เศรษฐกิจเปราะบาง และไม่เคยพูดถึงการปรับโครงสร้างเพื่อช่วยให้กรีซแข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้นเลยแม้แต่ครั้งเดียว
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เศรษฐกิจก็แย่ลง งบประมาณขาดดุลก็มากขึ้น!
แล้วการปรับโครงสร้างที่ว่าคืออะไรบ้าง? ตัวอย่างเช่น การลดอำนาจหรือยกเลิกสหภาพแรงงาน การแก้ไขกฏหมายเกี่ยวกับการจ้างงานที่ซับซ้อนและไม่มีประสิทธิภาพ และการเพิ่มทักษะของแรงงานเป็นต้น
โดยปกติแล้ว ถ้าเป็นประเทศอื่นที่อยู่นอกยูโรโซนเจอปัญหาแบบนี้ ค่าเงินของประเทศนั้นๆก็จะอ่อนตัวลงเพื่อสะท้อนปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจที่แย่ลง สิ่งนี้จะช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะค่าเงินที่อ่อนลงนั้นทำให้ค่าแรงและราคาสินค้าจากประเทศดังกล่าวมีราคาถูกลงทางอ้อม ส่งผลให้ประเทศส่งออกได้มากขึ้น
แต่กรีซกลับต้องมาติดอยู่กับค่าเงินยูโร เมื่อค่าเงินปรับตัวลงไม่ได้เหมือนตอนที่ประเทศมีค่าเงินเป็นของตัวเอง ค่าแรง ราคาสินค้าและราคาสินทรัพย์ต่างๆก็ต้องปรับตัวลดลงโดยตรง ซึ่งจะเป็นการปรับตัวทางเศรษฐกิจที่เจ็บปวด และกินเวลานานหลายปี
ข้อสรุป: ผมคิดว่ายูโรโซนจะต้องทำตามสองข้อที่กล่าวมา ถ้าพวกเขาต้องการอยู่รอดได้เหมือนเดิมในระยะยาว โดยเฉพาะในข้อแรก รัฐบาลจากกลุ่มประเทศที่อยู่ในโซนนั้นจะต้องร่วมมือกัน
จากแผนล่าสุดที่เพิ่งถูกประกาศออกมานั้น ดูเหมือนว่าเยอรมันและฝรั่งเศสจะเน้นหนักไปที่การกำหนดกฏเกณฑ์และการควบคุมวินัยทางการเงินของรัฐบาลประเทศต่างๆในยูโรโซน มาตรการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดี เพราะมันจะช่วยยับยั้งไม่ให้เกิดวิกฤตหนี้แบบนี้อีกในอนาคต
แต่ปัญหาหนี้ในกลุ่มPIIGSที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ตอนนี้ละ พวกเขาเตรียมตัวที่จะแก้ไขอย่างไร นอกจากการให้กู้เพิ่ม แล้วสั่งรัฐให้รัดเข็มขัด ซึ่งเป็นวิธีที่ดูจะไม่ค่อยได้ผลเท่าไรนัก? การทำข้อเสนอข้อแรกให้เกิดประสิทธิผลนั้น ประเทศยูโรโซนจะต้องมีความสัมพันธ์ทางการเงินอย่างเต็มที่ ถึงขนาดที่ว่าถ้ากรีซจ่ายไม่ไหว ประเทศอื่นจะช่วยกันจ่ายให้เอง ซึ่งในความคิดเห็นของผม เยอรมันกับฝรั่งเศสคงไม่กล้าเสียสละถึงขนาดนั้น
จากแผนล่าสุดที่เพิ่งถูกประกาศออกมานั้น ดูเหมือนว่าเยอรมันและฝรั่งเศสจะเน้นหนักไปที่การกำหนดกฏเกณฑ์และการควบคุมวินัยทางการเงินของรัฐบาลประเทศต่างๆในยูโรโซน มาตรการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดี เพราะมันจะช่วยยับยั้งไม่ให้เกิดวิกฤตหนี้แบบนี้อีกในอนาคต
แต่ปัญหาหนี้ในกลุ่มPIIGSที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ตอนนี้ละ พวกเขาเตรียมตัวที่จะแก้ไขอย่างไร นอกจากการให้กู้เพิ่ม แล้วสั่งรัฐให้รัดเข็มขัด ซึ่งเป็นวิธีที่ดูจะไม่ค่อยได้ผลเท่าไรนัก? การทำข้อเสนอข้อแรกให้เกิดประสิทธิผลนั้น ประเทศยูโรโซนจะต้องมีความสัมพันธ์ทางการเงินอย่างเต็มที่ ถึงขนาดที่ว่าถ้ากรีซจ่ายไม่ไหว ประเทศอื่นจะช่วยกันจ่ายให้เอง ซึ่งในความคิดเห็นของผม เยอรมันกับฝรั่งเศสคงไม่กล้าเสียสละถึงขนาดนั้น
ถ้าประเทศที่แข็งแรงกว่ายังไม่ยอมค้ำหนี้ของประเทศที่อ่อนแอกว่า จะให้ECBเข้ามาซื้อพันธบัตรแบบไม่จำกัดจำนวนก็ไม่มีประโยชน์อยู่ดี เพราะปัญหาหลักอยู่ที่ความสามารถในการจ่ายหนี้(หรือการเติบโตของเศรษฐกิจ) ไม่ใช่สภาพคล่อง
ตราบใดที่เยอรมันและฝรั่งเศสยังไม่ยอมทำสิ่งเหล่านี้ กรีซจะก่อหนี้เสีย ทนอยู่ในยูโรโซนต่อไม่ไหวและแยกตัวออกมาในที่สุด ซึ่งก็มีความเสี่ยงสูงว่าจะมีประเทศอื่นตามออกมาด้วยเช่นกัน
บทความที่คล้ายกัน