การลงทุนหุ้น และเศรษฐกิจ อัพเดทรายสัปดาห์

09 ธันวาคม 2554

แผนการใหม่ของยุโรป: Fiscal Integration Begins

อัพเดทล่าสุด 21/12/2011

ในที่สุดการประชุมสุดยอดของผู้นำEUก็ได้ปิดฉากลง ใจความสำคัญของแผนใหม่ที่เพิ่งถูกประกาศคือ

  • ผู้นำจากกลุ่มประเทศยูโรโซน17ประเทศ และประเทศอื่นในEUอีก6ประเทศได้ร่วมตกลงที่จะร่างสนธิสัญญาฉบับใหม่ขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์ให้รัฐบาลประเทศต่างๆมีความสัมพันธ์ทางการเงินที่แน่นแฟ้นมากขึ้น ถึงแม้ว่ายังไม่มีความแน่ชัดว่าความแน่นแฟ้นดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน สิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอนก็คือ กฎบางข้อที่พ่วงถูกมาด้วยนั้นบังคับให้ประเทศต่างๆที่ยอมรับในสนธิสัญญามีวินัยทางการเงินมากขึ้น เช่น การบังคับให้รัฐบาลแต่ละประเทศควบคุมงบประมาณขาดดุลไม่ให้เกิด0.5%ของGDP และเมื่อใดการตามที่มีการขาดดุลเกิน3%ของGDP ประเทศนั้นจะได้รับการลงโทษ นอกจากนั้น แต่ละประเทศจะต้องบรรจุกฏหมายนี้เข้าสู่รัฐธรรมนูญของตนด้วย
  • สำหรับมาตรการที่จะช่วยให้งบประมาณขาดดุลนั้นอยู่ภายใต้เกณฑ์ที่กำหนด ประเทศต่างๆในยูโรโซนจะต้องเสนอแผนงบประมาณแห่งชาติต่อEuropean Commisionเสียก่อน ซึ่งหน่วยงานนี้สามารถสั่งให้ประเทศต่างๆกลับไปแก้แผนงบประมาณได้ จนกว่าECจะทำการอนุมัติ นอกจากนั้นรัฐบาลจากประเทศต่างๆจะต้องรายงานล่วงหน้าด้วยว่าจะกู้ยืมเป็นจำนวนเงินเท่าไร นี้ถือเป็นการสูญเสียอำนาจครั้งใหญ๋ของรัฐบาลประเทศต่างๆในกลุ่มยูโรโซน
  • ผู้นำEUตัดสินใจเพิ่มวงเงินช่วยเหลือให้กับแหล่งเงินของIMF ซึ่งจะถูกนำไปใช้ช่วยประเทศที่มีปัญหาในยูโรโซนอีก2แสนล้านยูโร ในจำนวนนั้น 1.5แสนล้านยูโรจะมาจากธนาคารแห่งชาติของประเทศต่างๆในยูโรโซน และส่วนที่เหลือนั้นจะมาจากประเทศต่างๆในEUที่อยู่นอกยูโรโซน นี้ถือเป็นครั้งแรกที่ธนาคารแห่งชาติยื่นเงินเข้ามาช่วยเหลือรัฐบาลแบบเต็มตัว (ผลออกมาแล้วครับว่ายูโรโซนหาเงินได้แค่1.5แสนล้านยูโร ขาดไป5หมื่นล้านยูโรจากเป้าที่ตั้งไว้) 
  • ผู้นำยุโรปตั้งเป้าไว้ว่าจะตั้งกองทุนช่วยเหลือถาวรที่ถูกเรียกว่า European Stability Mechanism (ESM) ในเดือนกรกฎาคมปี2012 ซึ่งเร็วกว่ากำหนดการตอนแรกถึงหนึ่งปี นี้จะเป็นกองทุนที่เข้ามาแทนกองทุนชั่วคราวEFSF 
แต่การประชุมก็ไม่ได้ราบรื่นเท่าที่ควร...

ในระหว่างการประชุม ท่านนายกอังกฤษDavid Cameronกล่าวว่าเขาจะยอมรับแผนการครั้งนี้ ก็ต่อเมื่อเขามีสิทธิในการคัดค้านกฎข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจภาคการเงินที่อาจถูกเสนอขึ้นมาในอนาคต เนื่องจากเกรงว่ากฎหมายเหล่านั้นอาจทำให้ ลอนดอน สูญเสียสถานภาพของการเป็นศูนย์กลางทางการเงินได้ 

กลุ่มผู้นำยูโร โดยเฉพาะฝรั่งเศสไม่ยอมมอบสิทธิดังกล่าวให้กับอังกฤษ  ประเทศอังกฤษจึงไม่ยอมรับข้อตกลงนี้ ผลก็คือกลุ่มใหญ่เดินหน้าทำตามแผนต่อ และกลุ่มเล็กซึ่งประกอบด้วยอังกฤษและอีกสามประเทศจากEUไม่เอาด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นนี้หมายความว่า ถึงแม้สนธิสัญญาอันใหม่ถูกประกาศใช้ในอนาคต ประเทศอังกฤษก็ไม่ต้องทำตามกฏข้อบังคับจากสนธิสัญญานั้น

อย่างไรก็ตาม หนทางของยูโรโซนยังอีกยาวไกลครับ Thomas Mayer จาก Deutsche Bank AG กล่าวว่า

“The leaders have now defined the end point they want to reach in terms of fiscal governance, but it’s a long way to go there. We’ll probably see more near-term tension and that will probably then trigger a more hands-on intervention by the ECB.”

สิ่งที่น่าสงสัยในข้อตกลงครั้งนี้คือ
1.) ธนาคารแห่งชาติจากประเทศต่างๆมีเงินเพียงพอที่จะให้IMFกู้หรือไม่?
2.) หน่วยงานใดจะเป็นผู้เฝ้าระวังว่ารัฐบาลประเทศไหนทำผิดกฏทางด้านงบประมาณขาดดุล ใครจะเป็นผู้ตัดสินว่ารัฐทำผิดจริง การลงทุนโทษกับรัฐบาลนั้นจะทำได้อย่างไรและจะได้ผลมากน้อยแค่ไหน

มีแผนที่ดีก็เรื่องหนึ่งครับ ส่วนการทำแผนให้เกิดประสิทธิผลก็อีกเรื่องหนึ่งซึ่งทำได้ยากกว่าเยอะ ถึงตอนนี้ผู้นำยุโรปจะช้าไม่ได้แล้ว 

บทความนี้เกิดจากการสรุปข้อมูลข่าวจากทั้งสี่บทความดังต่อไปนี้
Euro Leaders Agree Budget Rigor, Leave Next Step to ECB
Eurozone leaders reach new deal without backing of Britain
Europe's great divorce
EU nations strike deal to save euro จากสำนักงานข่าว AP

ติดตามบทวิเคราะห์เกี่ยวกับวิกฤตหนี้ในยุโรปได้ในซีรี่ส์ NO WAY OUT นะครับ

Posted in:
Twitter