การลงทุนหุ้น และเศรษฐกิจ อัพเดทรายสัปดาห์

21 มีนาคม 2553

ทำไมตลาดหุ้นจึงแกว่งนัก? โดย John Maynard Keynes


แนะนำให้รู้จักกับKeynesกันก่อน
John Maynard Keynes เป็นนักเศรษฐศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ชาวอังกฤษ ผู้แต่งหนังสือที่ชื่อว่าThe General Theory of Employment, Interest and Money

ในหนังสือKeynesกล่าวไว้ว่า ตลาดสินค้าและบริการซึ่งประกอบไปด้วย demand & supplyไม่ได้มีประสิทธิภาพในการกำหนดราคาและปริมาณของสินค้านั้นๆได้อย่างสมบูรณ์แบบอย่างที่นักเศรษฐศาสตร์เชื่อกัน โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลาสั้นๆ

Keynesกล่าวว่า ในช่วงระยะสั้นๆ ความต้องการของสินค้าและบริการอาจเคลื่อนตัวงจากจุดที่เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ราคาและปริมาณการซื้อขายมันต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากความต้องการที่น้อยลง ทำให้รายได้ต่ำ และอัตราการว่างงานมากกว่าจุดสมดุลระยะยาว(long-run equilibrium) กว่าเศรษฐกิจจะกลับมาเป็นปกติ คนในประเทศจะต้องได้รับความเดือดร้อนไปซักระยะหนึ่ง จนกว่าความมั่นใจของบริโภคจะสูงขึ้น พร้อมกับราคาของสินค้าและบริการต่ำลง ทำให้คนกลับมาซื้อของมากเหมือนเดิม  

แต่ทว่า Keynesบอกว่าทุกคนสามารถมีความเป็นอยู่ที่ดีเหมือนปกติได้โดยไม่ต้องรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจเลย(หรือได้รับผลกระทบน้อยลง) ถ้ารัฐบาลเข้ามาแทรกแทรงโดยอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อทดแทนความต้องการของสินค้าและบริการที่ลดลงในตอนแรก

ทฤษฏีนี้ยังคงอยู่บนพื้นฐานที่ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นเองในระยะยาว และเมื่อเศรษฐกิจค่อยๆฟื้นตัวและมั่นคงได้ด้วยตัวของมันเอง รัฐบาลก็ควรจะค่อยๆลดการกระตุ้นเศรษฐกิจลงทีละน้อยๆ

ทฤษฏีนี้เป็นที่ทฤษฏีที่ดังและได้รับการยอมรับมากที่สุดของKeynes และเป็นเหตุผลที่ทำไมรัฐบาลยอมกู้หนี้ยืมสินมหาศาลมากระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศตัวเองในวิกฤตเศรษฐกิจครั้งล่าสุด


ทฤษฏีเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดหุ้นของKeynes
Keynesบอกว่าการแกว่งตัวของตลาดหุ้นเป็นสิ่งที่เกินกว่าพื้นฐานและผลประกอบการของบริษัทต่างๆอย่างเดียวจะอธิบายได้ เขายังกล่าวต่อว่าการแกว่งตัวที่มีมากเกินไปของตลาดหุ้น เกิดจากความไม่มีเหตุผลของจิตใจมนุษย์(irrational market psychology หรือ animal spirits) โดยKenyesได้เปรียบเทียบตลาดหลักทรัพย์กับการประกวดสาวงาม(Beauty Contest)

ในสมัยก่อน ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีการประกวดในหนังสือพิมพ์โดยให้ผู้อ่านตัดสินใจแล้วเลือกว่าผู้หญิงคนไหนสวยทีสุด ผู้ชนะก็คือ ผู้อ่านที่ตัดสินใจเลือกผู้หญิงคนเดียวกันกับที่คนส่วนใหญ่เลือกไว้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นคือ แต่ละคนไม่สนใจว่าสาวคนไหนสวยที่สุดจากสาวทั้งหมดในหนังสือพิมพ์ ทุกคนมัวแต่สนใจและอยากรู้ว่าสาวคนไหนจะเป็นสาวที่คนอื่นคิดว่าสวยที่สุดแล้วเลือกกันเยอะๆมากกว่า
เพราะฉะนั้นสาวที่ได้รับการvoteมากที่สุด ก็คือสาวที่ผู้อ่านส่วนใหญ่เลือกเพราะคิดว่าผู้อ่านคนอื่นจะvoteกันมากที่สุด ซึ่งไม่จำเป็นเลยว่าจะเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุด

การเล่นหุ้นก็เช่นเดียวกัน เราไม่ได้สนใจหรอกว่าหุ้นตัวไหนพื้นฐานดีที่สุด(ซึ่งจริงสำหรับหลายๆคนในตลาดไทย) เราสนใจแค่ว่าหุ้นตัวไหนคนส่วนใหญ่คิดว่าดีแล้วคนจะซื้อเยอะๆ เราจะได้ซื้อตาม

ข้อมูลจำพวกนี้ที่วนเวียนอยู่ในตลาดหุ้น จึงเป็นได้แค่การพูดหรือคาดเดากันอย่างไม่มีมูล ที่ไม่มีค่าต่อสังคมเลย และยังเป็นโทษต่อสังคมด้วยซ้ำในบางครั้ง เพราะผลที่ได้คือ พอตลาดลือกันว่าหุ้นตัวไหนกำลังจะขึ้นเพราะคนอื่นจะแย่งกันซื้อเยอะ คนก็จะรีบซื้อหุ้นตัวนั้นตามๆกันมากเกินไปเพื่อหวังกำไร จนราคาสูงกว่าพื้นฐาน พอลือกันว่าตลาดหรือหุ้นตัวไหนกำลังแย่เพราะคนอื่นกำลังเทขาย ก็รีบเทขายกันเพราะกลัวขาดทุน จนราคาหุ้นต่ำกว่าพื้นฐาน นี้เป็นสาเหตุที่ทำให้การเคลือนไหวของราคาในตลาดหลักทรัพย์แกว่งกว่าที่ควรจะเป็น - การขายเพราะกลัวคนอื่นขาย การซื้อเพราะคิดว่าคนอื่นจะซื้อ

Posted in:
Twitter