การลงทุนหุ้น และเศรษฐกิจ อัพเดทรายสัปดาห์

10 มีนาคม 2555

Dhandho Investing คือ?


ในบทความ "Value" Investing = Investing ผู้เขียนได้แนะนำหนังสือไปทั้งหมดแปดเล่ม หนึ่งในนั้นก็คือ The Dhando Investor โดย Mohnish Pabrai

ปัจจุบัน ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ เป็นผู้จัดการกองทุน ซึ่งลอกเลียนโครงสร้างกองทุน และแนวการลงทุนตาม Buffett Partnerships ซึ่งเป็นกองทุนที่ Warren Buffett ดำเนินกิจการในช่วง 1950's

ตั้งแต่ปี 1999 ถึงปี 2007 กองทุนของ Mohnish Pabrai ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยถึง 28% ต่อปี


Dhandho Investing คืออะไร? 

มันเป็นอีกเวอร์ชั่นหนึ่งของ Value Investing ครับ เพียงแต่ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้เขาเอาวิธีการลงทุนของ คนตระกูล Patel จากอินเดียมาผสมด้วย และผลที่ได้ก็คือ "The Low-Risk Value Method to High Return"

Dhandho แปลตรงตัวจะได้ความหมายว่า ความอุตสาหะในการสร้างความมั่งคั่ง ("endeavors that creates wealth")

หลักในการลงทุนของ Dhando Investing มีอยู่เก้าประการด้วยกัน คือ

1. Focus on Buying An Existing Business = จดจ่อกับการซื้อธุรกิจที่มีอยู่แล้ว
เหตุผล: เราสามารถทำการวิเคราะห์ และลงทุนในธุรกิจที่ดำเนินกิจการมานานหลายปี ได้ง่ายกว่าการสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่ด้วยตนเอง

2. Buy Simple Business in Industries with An Ultra-Slow Rate of Change = ซื้อธุรกิจอันเรียบง่ายที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง
เหตุผล: การเปลี่ยนแปลง คือ ศัตรูของการลงทุน เราควรมองหาธุรกิจดีๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะดีไปเรื่อยๆต่อไปอีกหลายปี ถ้าให้ดี เราควรมองหาธุรกิจที่จำหน่ายสินค้าธรรมดาๆ ที่ใครๆก็ต้องใช้ไปอีกนาน

3. Buy Distressed Businesses in Distressed Industries = ซื้อธุรกิจอันตกต่ำ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ตกต่ำ
เหตุผล: บริษัทที่มีอนาคตไม่ดี มักจะถูกขายในราคาต่ำ แต่ถ้าปัญหานั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เราก็จะมีโอกาสได้ซื้อของดีราคาถูก

4. Buy Businesses with A Durable Competitive Advantage = ซื้อธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน
เหตุผล: ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ คือ ตัวชี้ขาดว่า ธุรกิจนั้นจะอยู่รอด และทำเงินได้มากกว่าคู่แข่งหรือไม่ เพราะฉะนั้น การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีจะมาจากการลงทุนในธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน [durable competitive advantage คือ?]

5. Bet Heavily When the Odds Are Overwhelmingly in Your Favor = ทุ่มเงินลงทุนไปเยอะๆ เวลาโอกาสมันเข้าข้างเรามากๆ
เหตุผล: ถ้าโอกาสได้ผลตอบแทนเยอะนั้นสูงมากๆ และโอกาสขาดทุนต่ำมากๆ กรุณาอย่าลังเลที่จะทุ่มเงินลงทุน

6. Focus on Arbitrage = จดจ่อกับการทำกำไรแบบไร้ความเสี่ยง
เหตุผล: ในบางครั้ง มันจะมีธุรกิจที่ไร้ความเสี่ยงอยู่ชั่วขณะ เช่น ธุรกิจที่เพิ่งเกิดใหม่ และยังไม่มีคู่แข่ง การลงทุนในธุรกิจประเภทนี้ ก่อนที่โอกาสในการทำกำไรแบบไร้ความเสี่ยงจะหดหายไป ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการทำเงิน

7. Buy Businesses at A Big Discounts to Their Underlying Intrinsic Value = ซื้อธุรกิจที่ระดับราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง
เหตุผล: การซื้อหุ้นที่ระดับราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง จะก่อให้เกิด Margin of Safety การสร้างMargin of Safety นั้นจะช่วยเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน เมื่อเราคาดการณ์อนาคตธุรกิจได้ถูกต้อง และช่วยลดความเสี่ยงขาลง(downside risk)ได้ ในกรณีที่อนาคตของธุรกิจไม่ได้เป็นอย่างที่เราคาดไว้

8. Look for Low-Risk, High-Uncertainty Business = มองหาธุรกิจทีมีความเสี่ยงต่ำ แต่มีความไม่แน่นอนสูง
เหตุผล: ธุรกิจที่มี "ความเสี่ยงต่ำ" หมายถึง ธุรกิจที่มีความเสี่ยงขาลง(downside risk)ต่ำ หรือมีโอกาสขาดทุนน้อย ถ้าธุรกิจนั้นมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคตของธุรกิจอยู่สูง ตลาดก็มักจะให้ราคาหุ้นต่ำ เราก็จะมีโอกาสในการซื้อธุรกิจเสี่ยงต่ำที่ราคาถูก

9. It's Better to Be A Copycat than An Innovator = การเป็นผู้ลอกเลียนแบบนั้นดีกว่า นั้นดีกว่าการเป็นผู้ประดิษคิดค้นขึ้นมาเอง
เหตุผล: การเลียนแบบสิ่งที่ขายได้ นั้นทำได้ง่าย และให้ผลตอบแทนมากกว่า การพยายามคิดค้นสินค้าที่ขายได้ขึ้นมาใหม่


1. Pabrai, Mohnish. 2007. The Dhandho Investor: The Low-Risk Value Method to High Returns. New Jersy: John Wiley & Sons, Inc.: p.35-46.

Posted in:
Twitter