การลงทุนหุ้น และเศรษฐกิจ อัพเดทรายสัปดาห์

06 มีนาคม 2555

การเจรจา Haircut ของกรีซ: จะได้ผล หรือ ไม่ได้ผล?


Highlights

  • กรีซอาจหานักลงทุนที่จะ "สมัครใจ" ยอมรับ haircutมูลค่า70% ไม่ได้มากพอ
  • นี้จะเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยทางการของกรีซบอกว่า 75% ของนักลงทุนภาคเอกชนจะต้องยอมรับ haircut โดยสมัครใจ มิฉะนั้น สิ่งที่ตามมาอาจจะเป็น หนี้เสียที่ไม่เป็นระบบระเบียบ (disorderly default)
  • ถึงกรีซรอด ก็ยังเหลือ สเปน และ โปรตุเกส ที่อาการยังน่าเป็นห่วง
หลายๆท่านอาจจะยังไม่ตระหนักว่า วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม ที่จะถึงนี้ เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของ รัฐบาลกรีซ และตลาดหุ้นทั่วโลก


สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นก็คือ นักลงทุนจะต้องเอาพันธบัตรรัฐบาลกรีซที่ตนถืออยู่ ไปแลกพันธบัตรใบใหม่ที่มีมูลค่าน้อยลง ซึ่งถือเป็นการปรับโครงสร้างนี้ โดยใช้วิธี bond swap ซึงมูลค่าของพันธบัตรที่นักลงทุนจะได้จากการแลกเปลี่ยนครั้งนี้ จะมีมูลค่า(NPV)น้อยกว่าเดิมอย่างน้อย 70% (SETTALK เคยกล่าวไว้ในหลายบทความ ว่าข้อตกลงhaircutเดิมที่ 50% จะไม่เพียงพอ)

ต่อไปนี้ คือ สิ่งที่นักลงทุนภาคเอกชนจะได้จาก bond swap
  1. พันธบัตรรัฐบาลกรีซที่จะครบกำหนดจ่ายในปี 2042 ซึ่งจะจ่ายดอกเบี้ยเป็นขั้นบันได คือ จ่ายดอกเบี้ย 2% จนถึงปี 2015 จากนั้นจะจ่าย 3% จนถึงปี 2020 3.65% จนถึงปี 2021 และสุดท้ายจะจ่าย 4.3% จากปี 2022 จนถึงปี 2042 โดยมูลค่าตามตราสาร (face value) จะอยู่ทีประมาณ 315 ยูโร ต่อ 1,000 ยูโรของหุ้นกู้เดิม
  2. พันธบัตร EFSF ซึ่งจะมีมูลค่าประมาณ 150 ยูโร ต่อ 1,000 ยูโรของพันธบัตรเดิมที่นักลงทุนนำมาแลก
  3. GDP warrants ซึ่งมีมูลค่าขึ้นอยู่กับGDPของกรีซ ซึ่งปัจจุบันหลักทรัพย์นี้ยังหามูลค่าไม่ได้ 


ทำความรู้จักกับ Collective Action Clause (CAC)


ในการแลกเปลี่ยนพันธบัตรกันในครั้งนี้ รัฐบาลกรีซเกรงว่า นักลงทุนภาคเอกชนบางส่วนจะไม่เข้าร่วม ซึ่งอาจทำให้กรีซจะไม่ได้haircutเพียงพอ จนส่งผลให้รัซไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจาก troika และเกิดหนี้เสียแบบไม่เป็นระบบระเบียบในที่สุด ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลกรีซจึงต้องออกกฏหมาย Collective Action Clause ซึ่งเป็นการบังคับนักลงทุนที่ไม่เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ ให้เข้าร่วมแลกพันธบัตรด้วยอยู่ดี (ยอม หรือ ไม่ยอม สุดท้ายก็ถูกบังคับให้ยอม) 


การใช้ CAC จะเกิดขึ้นหรือไม่? และการแลกเปลี่ยนพันธบัตรจะเกิดขึ้นแน่หรือเปล่า? นั้นขึ้นอยู่กับว่า มีนักลงทุนภาคเอกชน สมัครใจยอมรับข้อตกลง bond swap นี้มากน้อยเพียงใด


CAC จะมีขึ้นได้ (ไม่ว่าจะถูกใช้หรือไม่ก็ตาม) และข้อตกลงจะลุล่วงก็ต่อเมื่อ อย่างน้อย 75% ของนักลงทุนภาคเอกชนที่ถือพันธบัตรรัฐบาลกรีซยอมแลกเปลี่ยนพันธบัตร ถ้านักลงทุนที่สมัครใจรับข้อตกลงมีไม่ถึง 75% ข้อตกลงนี้จะเป็นโมฆะ ซึ่งจะทำให้เกิดหนี้เสียอันโกลาหลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


ถ้า 90% ของผู้ที่พันธบัตรกรีซหรือมากกว่า ยอมรับในข้อตกลง การแลกเปลี่ยนพันธบัตรก็จะลุล่วงไปได้ และCACก็จะถูกใช้ ซึ่งหมายความว่าที่เหลืออีก 10% ของนักลงทุน ก็ต้องโดนบังคับแลกพันธบัตร และได้พันธบัตรที่มีมูลค่าน้อยลงอยู่ดี ซึ่งเป็นไปได้สูงว่า CDS ก็จะทำงานด้วย [CDS คืออะไร อ่านได้ที่ จุดเริ่มต้นของจุดจบ: วิกฤตหนี้รัฐบาลในยูโรโซน]


แล้วถ้าจำนวนนักลงทุนที่ยอมรับข้อตกลงอยู่ระหว่าง 75% กับ 90% ละ?


“the Republic, in consultation with its official sector creditors, may proceed to exchange the tendered bonds without putting any of the proposed amendments into effect”. 


"หลังจากที่มีการปรึกษากับหน่วยงานทางการที่ผู้ถือพันธบัตร รัซบาลกรีซอาจจะดำเนินการการแลกเปลี่ยนหุ้นกู้ โดยไม่มีการแก้กฏหมายแต่อย่างใด"


เราอาจจะตีความได้ว่า นักลงทุนที่ยอมแลกก็ได้หุ้นกู้อันใหม่ซึ่งมีมูลค่าต่ำลงประมาณ70% ส่วนพวกที่ไม่ยอมแลกก็ถือหุ้นกู้เดิมต่อไป ซึ่งมีความเสี่ยงอยู่ว่า รัฐบาลกรีซอาจจะไม่ยอมจ่ายเงินคืนให้กับพวกที่ไม่ยอมเข้าร่วมในการแลกเปลี่ยนพันธบัตรเลยแม้แต่ยูโรเดียว ซึ่งในกรณีนี้ CDS ก็คงจะทำงานเช่นเดียวกัน 


ที่รัฐบาลกรีซทำทั้งหลายทั้งปวงนี้ ก็เพื่อกระตุ้นให้นักลงทุนทั้งหมดเข้าร่วมแลกเปลี่ยนหุ้นกู้ด้วยความสมัครใจ เราก็ต้องดูกันต่อไปว่า วิธีเหล่านี้จะได้ผลหรือไม่ (ได้ผลอย่างแน่นอน คือ มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 90%)




ได้ผล หรือ ไม่ได้ผล แล้วเป็นไงต่อ?


ถ้าข้อตกลงนี้ไม่ลุล่วงไปได้ด้วยดี กรีซจะก่อหนี้เสียแบบโกลาหล สถาบันการเงินจะขาดสภาพคล่อง เงินทุนไม่เพียงพอ ธนาคารบางแห่งอาจล้มละลาย การปล่อยสินเชื่อหดตัว และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของกรีซโดยตรง เพราะธนาคารในประเทศถือหุ้นรัฐบาลกรีซอยู่มาก ซึ่งเป็นไปได้สูงว่านักลงทุนจะตื่นตระหนก และมองหาว่าประเทศใดจะเป็นรายต่อไป


ถ้าข้อตกลงนี้ลุล่วงไปได้ด้วยดี กรีซก็จะมีเวลาหายใจเพิ่ม และยืดเวลาเอาตัวรอดไปได้อีกสักพัก แต่ผลเสียก็คือ ประเทศอื่นที่มีหนี้รัฐสูง และเดือดร้อนคล้ายๆกรีซ ก็ต้องอยากได้haircutเยอะๆแบบกรีซบ้าง ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบก็คงไม่พ้นสถาบันการเงิน และเศรษฐกิจอยู่ดี


ดูเหมือนว่า ไม่ว่าการเจรจาตกลงในใครนี้จะสำเร็จหรือไม่ ผลที่ตามมาก็ดูไม่ค่อยดีนัก ซึ่งอาจทำให้ตลาดหุ้นแย่ตามไปด้วย


อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนคาดว่าถ้าเศรษฐกิจทั่วโลกมันจะแย่จริงๆ มันก็คงแย่ได้ไม่นาน เพราะ
1.) ปัจจุบันหนี้ของรัฐบาลกรีซ โปรตุเกส และสเปนจำนวนมหาศาลอยู่ในมือของทางการ ไม่ใช่ภาคเอกชน 
2.) เศรษฐกิจอเมริกาฟื้นตัวอย่างชัดเจน
3.) ธนาคารกลางทั่วโลกอัดฉีดสภาพคล่องเข้ามาจำนวนมาก และพร้อมที่จะอัดฉีดเพิ่มเสมอ


เพราะฉะนั้น ถ้าตลาดมีการปรับตัวจริงในอนาคต นักลงทุนควรมองว่าเป็น "โอกาส" มากกว่า "วิกฤต"


1. Greek Debt Hydra Grows Another Head
2. Greece's Bond Exchange: It's Official

Posted in:
Twitter