กาลครั้งนึง นานมาแล้ว...
ทางเราเคยโพสเกี่ยวกับ Insider
Trading ในบทความ "หุ้นที่คุณกำลังซื้อ/ถือ
ใช่หุ้นที่ผู้บริหารของบริษัทขายทิ้งหรือไม่" กลับมาครั้งนี้
เราขอพูดถึง หุ้น HMPRO
หุ้นที่ผู้บริหาร
และผู้ถือหุ้นใหญ่ ขายหุ้นมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา
สิ้นเดือน ตุลาคม 2561 ราคาหุ้น HMPRO ปิดที่ 14.90 บาทต่อหุ้น ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันที่ 9 เมษายน 2562 ราคาหุ้นแทบไม่ไปไหน ส่วนใหญ่ ซื้อ-ขาย
อยู่ในช่วงราคา 14.90
ถึง 15.30 ในช่วงเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือน พ.ย. 61 ถึง เม.ย. 62 กลุ่ม insiders (ตามรายงาน 59-2 ของ กลต.) มีการขายหุ้น HMPRO สุทธิ (จำนวนหุ้นที่ขาย หักลบด้วยจำนวนหุ้นที่ซื้อ)
2.43 ล้านหุ้น คิดเป็นเงินมูลค่าประมาณ 37.0 ล้านบาท
หลังจากวันที่ 4 เม.ย. 62 ราคาหุ้น HMPRO ได้พุ่งทยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากผลประกอบการในไตรมาส1-2ดูมีแนวโน้มแข็งแกร่ง
ส่วนนึงเพราะหน้าร้อนปีนี้ของไทยมีอากาศร้อนกว่าปกติ ทำให้เครื่องปรับอากาศขายดี
ราคาหุ้นขึ้นไปปิดที่ระดับสูงสุดที่ 18.00 บาท ณ วันที่ 21 มิ.ย. ปรับตัวขึ้น 21% ภายในระยะเวลาไม่ถึง 3 เดือนHMPRO ทำ new high วันที่ 21 มิ.ย. 2562 |
ในขณะที่ราคาหุ้นของHMPROปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง insiders ก็มีการขายหุ้นมากขึ้นเช่นกัน
ในเดือน พ.ค. insiders มีการขายหุ้นทั้งหมด 8.9 ล้านหุ้น (147.1 ล้านบาท) เดือน มิ.ย. 16.3 ล้านหุ้น (287 ล้านบาท)
ขายออกมามากกว่าช่วงก่อนหน้านี้ที่ราคาหุ้นค่อนข้างนิ่งหลายเท่า
HMPRO ยิ่งแพง ยิ่งขาย |
ถ้าหันมาดูปัจจัยพื้นฐานของ HMPRO ราคาหุ้นปัจจุบัน กับกำไรต่อหุ้น ปี 2018 ที่ 0.43 บาท สะท้อน P/E ratio ที่ระดับ 40 เท่า
ในขณะที่อัตราการเติบโตของกำไรในช่วง 2 ปีข้างหน้า (2018-20 CAGR) ตามประมาณการของนักวิเคราะห์
(ค่าเฉลี่ยของ SETTRADE
IAA Consensus) อยู่ที่
13.1% ต่อปี ตัวเลข P/E 40 เท่า กับ อัตราการเติบโตที่ 13.1% ต่อปี สามารถนำคำนวณเป็น PEG (P/E หารด้วย growth rate) ได้เท่ากับ 3.1 เท่า ทางเรามองว่า หุ้นที่น่าซื้อส่วนใหญ่ควรจะมี
PEG ต่ำกว่า 2 เท่า ยิ่งต่ำยิ่งดี (PEG คืออะไร อ่านได้ที่บล็อกเก่าของเรา Peter Lynch and His Famour PEG
ratio)
อีกสิ่งหนึ่ง ที่น่าสนใจสำหรับหุ้น HMPRO ก็คือ ในอดีต ราคาหุ้น HMPRO กับ QH มักจะวิ่งไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้
เป็นเพราะว่า QH ถือหุ้น HMPRO อยู่ 19.9% และประมาณ 29% ของกำไรสุทธิต่อปีของ QH มาจากส่วนแบ่งกำไรจากการถือหุ้น HMPRO (อิงงบปี 2561) แต่ช่วงหลังๆมานี้ หุ้นสองตัวกับไม่ค่อยวิ่งไปในทิศทางเดียวกัน
ตั้งแต่ 14 ก.ย. ปีที่แล้ว ราคาหุ้น QH กับ HMPRO เริ่มไม่วิ่งไปในทิศทางเดียวกัน |
ตั้งแต่ 14 ก.ย. 2561 เป็นต้นมา ราคาหุ้น HMPRO มักจะขึ้น ในขณะที่ QH มักจะลง หรือ ทรงตัวอยู่นิ่งๆ
สาเหตุหลักที่ราคาหุ้น QH สู้ไม่ได้ คือ มาตรการปรับลด LTV ของแบงค์ชาติ (ประกาศในช่วงปลายปี 61 เริ่มใช่จริง เม.ย 62) ที่ทำให้ยอดขายอสังหาฯชลอตัว
ประกอบกับสินค้าของ QH บางตัวที่ขายไม่ค่อยดีเองอยู่แล้วด้วย
สวนทางกับแนวโน้มเติบโตกำไรที่แข็งแกร่งของ HMPRO ราคาหุ้นที่วิ่งสวนทางกัน
ทำให้นักลงทุนที่ซื้อ QH วันนี้เหมือนได้ธุรกิจอสังหาฯของQHแบบฟรีๆ
ณ ราคาปิดที่ 3.04 บาทต่อหุ้น QH มีมูลค่าตลาด (market capitalization) อยู่ที่ 32.6 หมื่นล้านบาท ในขณะที่มูลค่าหุ้น HMPRO ที่ QH ถืออยู่มีมูลค่าสูงถึง 44.9 หมื่นล้านบาท (19.9% ของมูลค่า HMPRO ที่ 2.26 แสนล้านบาท อิงราคาปิด HMPRO ที่ 17.20 บาท) ซึ่งหมายความว่า นักลงทุนให้มูลค่าธุรกิจขายบ้านและคอนโดของQHติดลบประมาณ 12.3 หมื่นล้านบาท (32.6 ลบด้วย 44.9 หมื่นล้านบาท) ถ้าใช้เกณฑ์นี้ราคา QH ปัจจุบันถือว่าถูกมาก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับ HMPRO แต่ QH จะเป็นหุ้นที่น่าซื้อหรือไม่ ก็คงต้องไปดูปัจจัยพื้นฐานของตัวบริษัทเองด้วยครับ