สิ่งที่เราได้เรียนรู้จาก สงครามการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา กับ จีน คือ "ความไม่แน่นอน คือความแน่นอน" วันที่ 1 สิงหาคม 2019 ประธานาธิบดี Donald Trump ประกาศขึ้นภาษี10%สำหรับการนำเข้าสินค้าจีนที่เหลือมูลค่า 3 แสนล้านดอลล่าร์ (มีผลบังคับใช้ 1 ก.ย. 2019) ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ มีการประกาศสงบศึกชั่วคราวกับจีน กลับมาเริ่มต้นเจรจาใหม่ และมีการลดระดับความรุนแรงการห้ามทำธุรกิจกับ Huawei ในช่วงปลายเดือน มิ.ย. 19 การแสดงท่าทีพร้อมที่จะเจรจาคลี่คลายปัญหาของ Trump แล้วสุดท้ายกลับลำมาทะเลาะกันใหม่ได้เกิดขึ้นหลายครั้ง ครั้งแรกสุดเกิดขึ้นในเดือน เม.ย. ปี 17 ตอนที่ ประธานาธิบดีของจีน Xi Jinping ไปเจอ Trump ที่โรงแรม Mar-a-Largo เพื่อคุยเรื่องแผนการสะสางข้อขัดแย้งทางการค้า (100 Day Action Plan) ผ่านไปไม่ถึง 1 ปี Trump ก็เริ่มทยอยประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน
การเจรจามีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง พอเหมือนจะแก้ปัญหาได้ ตลาดหุ้นอเมริกาก็ขึ้น พอมีการประกาศขึ้นภาษีในสินค้ารายการใหม่ ตลาดหุ้นก็ลง ปัจจุบัน อเมริกามีการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนรวมมูลค้า2.5แสนล้านดอลล่าร์ (ยังไม่รวมสินค้าล๊อตใหม่มูลค่า 3 แสนล้านบาท ที่กำลังจะเริ่มใช้ในเดือน ก.ย.) ส่วนทางจีนก็มีการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากอเมริกามูลค่ารวม 1.1 แสนล้านบาท
ตามหลักพื้นฐานเศรษฐศาสตร์ การซื้อ-ขายสินค้าระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่ดี เพราะประเทศไหนถนัดผลิตอะไร(ทำได้คุณภาพดี+ราคาถูก) ก็ควรผลิตและขายสินค้าประเภทนั้นในตลาดโลก เศรษฐกิจทั่วโลกก็จะเติบโต ผู้บริโภคก็ได้ใช้ของราคาถูก และมีตัวเลือกหลากหลายมากขึ้น คำถามที่ตามมา คือ แล้ว Trump จะก่อสงครามทางการค้าไปเพื่ออะไร คำตอบสั้นๆ คือ สร้างคะแนนนิยม ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญตัวหนึ่งที่อาจบอกได้ว่าจะชนะหรือแพ้การเลือกตั้งในครั้งหน้า สิ่งนี้ทำให้เราเชื่อว่า Trump จะทำตัวเดี๋ยวดี เดี๋ยวร้ายกับเรื่อง Trade War ไปอีกพักใหญ่ๆ เพื่อสร้างฐานเสียงก่อนเลือกตั้ง พ.ย. ปีหน้า
ในช่วงแรก ของการเป็นประธานาธิบดีของ Trump คะแนนนิยมของเขา (% approval ตาม Gullup polls) ค่อยๆปรับตัวลงจาก 45% ในเดือน ม.ค. 17 มาที่จุดต่ำสุด 35% ในช่วง ส.ค. - ต.ค. 17 ที่คะแนนนิยมปรับลดลงมาก เนื่องจากการดำเนินการนโยบายต่างๆที่เคยสัญญาว่ากับประชาชาไว้ (เช่น ของบสร้างกำแพงชายแดนอเมริกา-เม็กซิโก) ค่อนข้างติดขัด ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง เพราะโดนศาลยุติธรรม หรือ สภาขัดขวาง ส่วนนโยบายส่วนใหญ่ที่ทำได้จริงก็มักจะไม่เกิดประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ของประเทศ (เช่น ลดภาษีเงินได้ให้คนรายได้สูง)
ช่วง ก.พ. - มี.ค. 18 Trump เริ่มประกาศสงครามการค้ากับหลายประเทศ แต่ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ จีน หลังจากนั้นคะแนนความนิยมของ Trump ก็่ค่อยๆปรับตัวสูงขึ้นจาก 36% ช่วงต้นปี 18 จนแตะ 42% ในช่วงปลายเดือน เม.ษ 18. และแทบไม่ลงมาต่ำกว่า 40% อีกเลย โพลล่าสุด(12 ก.ค. 2019)แสดงให้เห็นว่าคะแนนความนิยมอยู่ที่ 44% ใกล้เคียงตอนที่ Trump เข้าเป็นประธานาธิบดีเดือนแรกที่ 45%
การสร้างสงครามการค้า ทำให้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ในขณะผลกระทบด้านลบรุนแรงทางเศรษฐกิจยังไม่เห็นผล ยิ่งทำให้ Trump กล้าสร้างกระแส Trade War ยิ่งขึ้นไปอีก เป็นที่ยอมรับกันดีในหมู่นักรัฐศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ของอเมริกาว่า การมีสงครามทางการทหาร หรือ การมีวิกฤตกับต่างชาติมักจะกระตุ้นคะแนนนิยมได้สักระยะ จนมีคำที่เรียกอาการนี้ว่า Rally 'round the flag หรือแปลตรงตัวว่า ชุมนุมรอบธงชาติ สงครามการค้าของ Trump ก็ส่งผลต่อคะแนนนิยมคล้ายๆสงครามทางการทหาร ในแง่ที่สามารถเรียกคะแนนนิยมได้ดี เพราะประชาชนมองว่า ประธานาธิบดีก็ต่อสู้เพื่อประโยชน์ของคนในชาติ ไม่อ่อนข้อกับต่างชาติเหมือนผู้นำในอดีต พูดสั้นๆก็คือ สร้างความเป็นชาตินิยม และความมีศัตรูร่วมกันอย่างชัดเจน(ซึ่งนำมาอ้างว่าเป็นเหตุของปัญหาต่างๆในชาติได้อีก)
อย่างไรก็ตาม การปรับตัวสูงขึ้นจากการก่อสงครามมักจะค่อยๆหายไปหากสงครามยืดเยื้อ หรือประชาชนมองว่าสงครามไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์อะไร สิ้นเปลืองเงินและทรัพยากรของชาติเปล่าๆ
เริ่มมีคนบางกลุ่มพูดว่า Trump จะเล่นเรื่องภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเลือกตั้งปีหน้าในเดือน พ.ย. หลังจาก Trump เลือกตั้งชนะ เรื่อง Trade War ควรจะเริ่มเบาลง เจรจารอมชอมกันรู้เรื่องมากขึ้น ความเสี่ยงคือ ถ้า Trump มีความมั่นใจในความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจมาก จนเพิ่มภาษีมากไปเพื่อเรียกคะแนนความนิยมขึ้นไปอีก (เหมือนที่กำลังจะขึ้นภาษีสินค้ากลุ่มใหม่จากจีนอีกในเดือน ก.ย. นี้) อาจทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจก่อนที่จะถึงวันเลือกตั้งก็ได้
ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจโลกจาก Trade War กับตลาดหุ้นอเมริกาที่แพงแล้ว ทำให้ช่วงนี้นักลงทุนควรลงทุนอย่างระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งครับ ในบทความหน้า เราลองมาดูกันว่าตลาดหุ้นอเมริกาแพงมากแค่ไหนแล้ว
ช่วง ก.พ. - มี.ค. 18 Trump เริ่มประกาศสงครามการค้ากับหลายประเทศ แต่ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ จีน หลังจากนั้นคะแนนความนิยมของ Trump ก็่ค่อยๆปรับตัวสูงขึ้นจาก 36% ช่วงต้นปี 18 จนแตะ 42% ในช่วงปลายเดือน เม.ษ 18. และแทบไม่ลงมาต่ำกว่า 40% อีกเลย โพลล่าสุด(12 ก.ค. 2019)แสดงให้เห็นว่าคะแนนความนิยมอยู่ที่ 44% ใกล้เคียงตอนที่ Trump เข้าเป็นประธานาธิบดีเดือนแรกที่ 45%
ก่อนประกาศสงครามการค้ากับจีน คะแนนนิยม (% Approve) ของ Trump อยู่ที่ 36% ตั้งแต่ประกาศ Trade War ในเดือน มี.ค. 2018 คะแนนนิยมปรับตัวสูงขึ้น และแทบไม่ลงมาต่ำกว่า 40% อีกเลย ล่าสุดคะแนนอยู่ที่ 44% |
การสร้างสงครามการค้า ทำให้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ในขณะผลกระทบด้านลบรุนแรงทางเศรษฐกิจยังไม่เห็นผล ยิ่งทำให้ Trump กล้าสร้างกระแส Trade War ยิ่งขึ้นไปอีก เป็นที่ยอมรับกันดีในหมู่นักรัฐศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ของอเมริกาว่า การมีสงครามทางการทหาร หรือ การมีวิกฤตกับต่างชาติมักจะกระตุ้นคะแนนนิยมได้สักระยะ จนมีคำที่เรียกอาการนี้ว่า Rally 'round the flag หรือแปลตรงตัวว่า ชุมนุมรอบธงชาติ สงครามการค้าของ Trump ก็ส่งผลต่อคะแนนนิยมคล้ายๆสงครามทางการทหาร ในแง่ที่สามารถเรียกคะแนนนิยมได้ดี เพราะประชาชนมองว่า ประธานาธิบดีก็ต่อสู้เพื่อประโยชน์ของคนในชาติ ไม่อ่อนข้อกับต่างชาติเหมือนผู้นำในอดีต พูดสั้นๆก็คือ สร้างความเป็นชาตินิยม และความมีศัตรูร่วมกันอย่างชัดเจน(ซึ่งนำมาอ้างว่าเป็นเหตุของปัญหาต่างๆในชาติได้อีก)
อย่างไรก็ตาม การปรับตัวสูงขึ้นจากการก่อสงครามมักจะค่อยๆหายไปหากสงครามยืดเยื้อ หรือประชาชนมองว่าสงครามไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์อะไร สิ้นเปลืองเงินและทรัพยากรของชาติเปล่าๆ
ตัวอย่างความคัดแย้งระหว่างประเทศที่ส่งผลให้คะแนนนิยมของประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาปรับตัวสูงขึ้น |
เริ่มมีคนบางกลุ่มพูดว่า Trump จะเล่นเรื่องภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเลือกตั้งปีหน้าในเดือน พ.ย. หลังจาก Trump เลือกตั้งชนะ เรื่อง Trade War ควรจะเริ่มเบาลง เจรจารอมชอมกันรู้เรื่องมากขึ้น ความเสี่ยงคือ ถ้า Trump มีความมั่นใจในความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจมาก จนเพิ่มภาษีมากไปเพื่อเรียกคะแนนความนิยมขึ้นไปอีก (เหมือนที่กำลังจะขึ้นภาษีสินค้ากลุ่มใหม่จากจีนอีกในเดือน ก.ย. นี้) อาจทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจก่อนที่จะถึงวันเลือกตั้งก็ได้
ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจโลกจาก Trade War กับตลาดหุ้นอเมริกาที่แพงแล้ว ทำให้ช่วงนี้นักลงทุนควรลงทุนอย่างระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งครับ ในบทความหน้า เราลองมาดูกันว่าตลาดหุ้นอเมริกาแพงมากแค่ไหนแล้ว